องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
องค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือเรียกชื่อย่อว่า อบจ.
เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีการปกครองอยู่ในปัจจุบัน
ได้มีการปรับปรุงแก้ไขและวิวัฒนาการมาตามลำดับ
โดยจัดให้มีสภาจังหวัดเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
เมื่อปี พ.ศ. 2476 ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล
พ.ศ. 2476 ฐานะของสภาจังหวัดขณะนั้น
มีลักษณะเป็นองค์กรแทนประชาชน
ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือแนะนำแก่คณะกรรมการจังหวัด
และมีการปรับปรุง
อำนาจหน้าที่เรื่อยมา จนกระทั่ง พ.ศ. 2498 รัฐบาลในสมัยนั้น
คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ได้มีความพยายามในการจัดการปกครองท้องถิ่น
ได้มีแนวคิดที่จะปรับปรุงบทบาทสภาจังหวัด ให้มีประสิทธิภาพ
และให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ในการปกครองตนเองมากยิ่งขึ้น
จึงได้เกิดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้น
ตามระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 โดยกำหนดให้ อบจ.
มีฐานะเป็นนิติบุคคล และแยกจากจังหวัด
ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาค มีโครงสร้างและ
องค์ประกอบของ อบจ. ใช้มาจนถึง พ.ศ. 2540
สำหรับอำนาจหน้าที่ของ อบจ. ในขณะนั้น
กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินส่วนจังหวัด
ภายในเขตจังหวัดซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล สุขาภิบาล
และหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบอื่น
อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีหลังแรก
ตั้งอยู่บริเวณศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีหลังเก่า
ริมแม่น้ำตาปี
ตรงข้ามศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีในสมัยนั้น ในขณะนั้น
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำหน้าที่เป็นหัวหน้า
ฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.
2498 ดังนั้นกล่าวได้ว่า
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีคนแรก คือ
นายจันทร์ สมบูรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในส่วนของฝ่ายสภาในขณะนั้น
ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้น
ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ
ให้ความเห็นชอบในการออกข้อบัญญัติ
ปลัดจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
มีส่วนราชการในสังกัดได้แก่
สำนักงานเลขานุการจังหวัด ส่วนการคลัง ส่วนโยธา
ส่วนอำเภอ
ซึ่งส่วนอำเภอจะมีสำนักงานไปประจำอยู่ตามอำเภอต่างๆ
โดยมีนายอำเภอเป็นหัวหน้าส่วนอำเภอ
กำกับดูแลการทำงานของข้าราชการส่วนอำเภอ ในสมัยนั้น
การปฏิบัติงานส่วนอำเภอเป็นไปด้วยความยากลำบาก
เนื่องจากพื้นที่ในส่วนอำเภอยังเป็นป่าเขาไม่มีถนนหนทางสะดวกสบายอย่างเช่นทุกวันนี้
จะมีก็แค่ทางด่านเกวียน ถนนลูกรัง
ชาวบ้านเดินเท้ากันเสียส่วนใหญ่
เจ้าหน้าส่วนอำเภอจะมีจักรยาน
หรือไหมก็รถมอเตอร์ไซต์เก่าๆ ออกเยี่ยมเยียนประชาชน
เก็บภาษีบำรุงท้องที่
สำรวจท้องที่ต่างๆ แม้จะยากเย็นสักเพียงใด
พวกเราชาวองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ก็มิได้ท้อแท้ มุ่งมั่นปฏิบัติหน้า
เพื่อสร้างความเจริญให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นให้จงได้